เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ Spectrophotometer
สเปกโทรโฟโตรมิเตอร์ Spectrophotometer
ส่วนประกอบของเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer components) | ||||||
เครื่องมือที่วัดการดูดกลืนแสงของสารในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเลต และช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ เรียกว่ายูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (UV-Vis spectrophotometer) ในบทนี้จะอธิบายส่วนประกอบและการทำงานภายในเครื่องมือดังกล่าวโดยจะเน้น เฉพาะอุปกรณ์ที่ยังนิยมใช้ในเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน | ||||||
แผนภาพเครื่องยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์อย่างง่าย | ||||||
1. แหล่งกำเนิดแสง (light source) แหล่งกำเนิดแสงในเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์จะต้องให้รังสีในช่วง ความยาวคลื่นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องและคงที่ตลอดเวลา รวมทั้งมีความเข้มแสง ที่มากพอด้วย สำหรับความยาวคลื่นในช่วงอัลตราไวโอเลตจะใช้หลอดดิวเทอเรียม (deuterium lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งให้แสงในช่วง 185-375 nm หลักการคือทำให้อะตอมดิวเทอเรียมที่อยู่ในสภาวะเร้าคายพลังงานออกมา ส่วนหลอดทังสเตน (tungsten filament lamp) จะให้ความยาวคลื่นครอบคลุมช่วงแสงที่มองเห็นได้ คือตั้งแต่ 320-2500 nm หลักการจะคล้ายกับหลอดไฟทังสเตนธรรมดาคือ ให้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปจนกระทั่งลวดทังสเตนร้อนและเปล่งรังสีออกมา โดยปกติจะเปิดเครื่องทิ้งไว้ก่อนใช้งานประมาณ 30 นาที เพื่อให้แน่ใจว่า หลอดดิวเทอเรียมหรือหลอดทังสเตนให้แสงที่มีความเข้มสม่ำเสมอ | ||||||
หลอดดิวเทอเรียม (ซ้าย) และหลอดทังสเตน (ขวา) | ||||||
2. ส่วนเลือกความยาวคลื่น (wavelength selector) เป็นส่วนที่ใช้แยกความยาวคลื่นที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งเป็นแสง ที่มีหลายๆ ความยาวคลื่น (polychromatic wavelength) ให้เป็นแถบแสงในช่วงแคบๆ หรือ เป็นความยาวคลื่นเดี่ยว (monochromatic wavelength) เครื่องมือสมัยก่อนจะใช้ปริซึมหรือ ฟิลเตอร์สำหรับแยกความยาวคลื่น แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้โมโนโครเมเตอร์ (monochromater) แบบเกรตติ้ง (grating) สะท้อนแสงซึ่งมีลักษณะเป็นร่องเล็กๆ ขนานกันจำนวนมาก แสงจากแหล่งกำเนิดแสงจะตกกระทบลงบนผิวหน้าของร่อง แล้วสะท้อนออกมาที่มุมต่างๆ เฉพาะความยาวคลื่นที่เราเลือกเท่านั้นจึงจะผ่าน ช่องแสงออก (exit slit) ไปสู่สารตัวอย่าง | ||||||
เกรตติ้งใช้แยกความยาวคลื่นที่ต้องการ จากรูป เราต้องการแสงสีน้ำเงิน ดังนั้นเฉพาะแสงสีน้ำเงินเท่านั้น ที่สะท้อนผ่านเกรตติ้งออกมา | ||||||
| ||||||
3. ภาชนะใส่สารตัวอย่าง (cell หรือ cuvette) ภาชนะใส่สารตัวอย่างสำหรับสเปกโทรโฟโตมิเตอร์จะเรียกว่า เซลล์หรือ คิวเวทท์ (cuvette) มีหลายแบบหลายขนาดด้วยกันขึ้นกับการใช้งาน หลักสำคัญในการเลือกใช้ก็คือ การวัดในช่วงแสงอัลตราไวโอเลต จะต้องใช้เซลล์ที่ทำจากควอตซ์ (quartz) เท่านั้น เนื่องจากแก้วสามารถดูดกลืนแสงในช่วงอัลตราไวโอเลตได้ ส่วนเซลล์ที่ทำจากแก้วจะใช้วัดในช่วงแสงที่มองเห็นได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราต้องการวัดสารในช่วงแสงที่มองเห็นได้ก็ควรจะใช้เซลล์ที่ทำจากแก้ว การใช้เซลล์ควอตซ์ไม่ได้มีผลให้การวัดแสงดีขึ้น แต่จะสิ้นเปลืองเปล่า ประโยชน์เพราะควอตซ์ราคาแพง กว่าแก้วมาก | ||||||
ตัวอย่าง cuvettes แบบต่างๆ | ||||||
นอกจากนี้การวิเคราะห์โดยใช้ spectrophotometric detection ถ้างาน | ||||||
4. ตัวตรวจจับสัญญาณ (detector) | ||||||
(ซ้าย) ภาพตัดขวางของหลอด PMT (ขวา) ลักษณะหลอด PMT ในสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ | ||||||
4.2 โฟโตไดโอดอาร์เรย์ (photodiode arrays; PDA) | ||||||
สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ที่มีไดโอดอาร์เรย์เป็นตัวตรวจจับสัญญาณ | ||||||
5. ส่วนบันทึกและแปรผลสัญญาณ (recorder and processor) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ และแปรผลสัญญาณให้ออกมาในมาตราส่วนแบบล็อก (log scale) |
Visible Spectrophotometer สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ เครื่องวัดการดูดกลืนแสง
-
FAITHFUL FV100 สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ เครื่องวัดการดูดกลืนแสง0.00 THB
-
FAITHFUL FV200 สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ เครื่องวัดการดูดกลืนแสง0.00 THB
-
HANNA HI801 เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ เครื่องวัดการดูดกลืนแสง120,000.00 THB
-
Lovibond Spectro direct เครื่องวัดการดูดกลืนแสง0.00 THB
-
MERCK Prove100 เครื่องสเปกโตรมิเตอร์0.00 THB