การควบคุมค่า กรด-ด่าง ในกุ้ง


การควบคุมค่า pH ในกุ้ง 

จากข้อมูลการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ต่าง ๆ พอจะสรุปได้ชัดเจนว่า ถ้าพีเอชต่ำหรือสูงเกินไป จะมีผลต่อการเจริญ
เติบโต นอกจากนั้นปริมาณอัลคาไลน์ที่ต่ำและสูงเกินไป ยังมีผลต่ออัตรารอดและการเติบโตของกุ้งด้วย
 พีเอชที่เหมาะสมในตอนเช้าประมาณ 7.5-8.0 พีเอชในตอนบ่ายไม่ควรจะสูงเกินกว่าตอนเช้ามากนักไม่ควร
เกิน 0.8 (ในอดีตใช้ 0.5 แต่ในความเป็นจริงคิดว่าทำได้ยากมาก) ค่าที่แตกต่างเกิน 0.5 แต่ไม่ถึง 1.0 ถ้าเป็น
การเลี้ยงกุ้งระบบความเค็มต่ำก็ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก

 พีเอชของน้ำในกรณีที่พีเอชตอนเช้าต่ำกว่า 7.5ถ้าเป็นบ่อที่เพิ่งปล่อยลูกกุ้งและมีน้ำใสอาหารธรรมชาติจะมี
น้อยกุ้งจะโตช้าอัตรารอดอาจจะต่ำควรที่จะเติมวัสดุปูนเช่นถ้าพีเอชาของน้ำตอนเช้า 7.2 เติมปูนขาว 10
กิโลกรัมต่อไร่ในตอนเช้าและอาจจะเติมโดไลไมท์ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ในเวลาประมาณ 9-10 โมงเช้า จะทำ
ให้พีเอชและสีน้ำดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้พีเอชในตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 สำหรับบ่อที่กุ้งยังมีขนาดเล็ก บ่อที่กุ้งมีอายุ
มากขึ้นพีเอชตอนเช้าควรอยู่ระหว่าง 7.5-7.8
 พีเอชของน้ำสูงมาก คือ ตอนเช้าเกิน 8.3 มักจะพบในพื้นที่ความเค็มต่ำ ควรลดพีเอชลงมาโดยใช้ฟอร์มาลิน
หรือสารที่เป็นกรด ลดพีเอชทีละน้อยเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในบ่อ ให้พีเอชของน้ำตอนเช้าไม่
เกิน 8.0 จะสังเกตเห็นว่ากุ้งลอกคราบและกินอาหารเพิ่มขึ้นถ้าไม่สามารถลดพีเอชลงได้ กุ้งจะโตช้ามาก
 ถ้าอัลคาไลน์ต่ำไม่เกิน 50 พีพีเอ็มพีเอชตอนเช้าต้องไม่ต่ำกว่า 7.5 ถ้าปล่อยลูกกุ้งในบ่อที่น้ำมีพีเอชต่ำกว่า 7.5
และอัลคาไลน์ต่ำกว่า 50 ลูกกุ้งจะลอกคราบไม่ออก อัตรารอดจะต่ำมากสามารถสังเกตได้ภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์ 
หลังจากปล่อยลูกกุ้ง การแก้ไข เติมวัสดุปูนเพิ่มพีเอชตอนเช้าไม่ให้ต่ำกว่า 7.5 และทำให้สีน้ำให้ดีขึ้น ค่าอัลคาไลน์
จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นได้ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ความเค็มต่ำ ถ้าเตรียมบ่อนานเกินไปก่อนปล่อยลูกกุ้ง อาจจะมี
สาหร่ายน้ำจืดเกิดขึ้นตามพื้นบ่อ จนทำให้น้ำในบ่อใสมาก จะมีผลทำให้อัลคาไลน์ลดต่ำลงไปด้วย ซึ่งจะผลต่อ
อัตรารอดของลูกกุ้ง จึงจำเป็นเป็นต้องตรวจวัดอัลคาไลน์อย่างสม่ำเสมอส่วนในกรณีที่เลี้ยงกุ้งริมชายฝั่งทะเล
ที่มีหอยขี้นก (หอยเจดีย์) มาก การเพิ่มจำนวนของหอยขี้นกในช่วงแรกจะมีการใช้แคลเซียมสร้างเปลือกหอยและ
ทำให้อัลคาไลน์และพีเอชของน้ำต่ำลงมาก น้ำทะเลที่มีอัลคาไลท์ประมาณ 100 พีพีเอ็มและพีเอชประมาณ 8.0 ถ้า
มีลูกหอยขี้นกเป็นจำนวนมากอาจจะเหลืออัลคาไลน์ไม่ถึง 50 พีพีเอ็มและพีเอชอาจจะลดลงมาจาก 8.0 เหลือไม่ถึง
7.5 ภายในช่วง 30 วันแรกที่ปล่อยลูกกุ้ง การแก้ไขต้องเติมวัสดุปูนอย่างต่อเนื่องให้ค่าพีเอชไม่ต่ำกว่า 7.5 ใน
ตอนเช้า จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ส่วนอัลคาไลน์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อหอยเจดีย์โตเต็มที่
 อัลคาไลน์สูงมากเช่น 180-250 พีพีเอ็มและพีเอชของน้ำตอนเช้าเกิน 8.3 จะพบว่าเปลือกกุ้งมีตะกรัน กุ้งเปลือก
สากไม่ลอกคราบ การกินอาหารลดลง ส่งผลให้กุ้งโตช้ามาก การแก้ไขต้องลดพีเอชลงมาให้ตอนเช้าไม่เกิน 8.0 
โดยใช้ฟอร์มาลินหรือกรดอย่างอ่อน
 
การใช้ยาและสารเคมี 
   เกษตรกรบางรายมีการใช้ยาและสารเคมีอย่างพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็นใช้ตามเคยชิน ทำให้ต้นทุน
ในการผลิตสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะฟาร์มรายย่อยขนาดเล็กที่ไม่มี ความเข้าใจทางวิชาการมากนัก มัก
จะเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาและสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ตามคำโฆณาชวนเชื่อมากเกินไปเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
ควรต้องพิจารณาตามเหตุและผลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจจะใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ และคำนึงถึงต้นทุน
ที่จะเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นต้องระมัดระวังในการใช้สารเคมีและปฏิชีวนะ ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้องตามหลัก
วิชาการจะเกิดปัญหายาตกค้างและจะมีปัญหาการส่งออกได้ ต้องระลึกเสมอว่ากุ้งที่ได้ขนาดพอจะขายได้
แล้ว ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะโดยเด็ดขาด แม้ว่ากุ้งจะป่วยหรือมีปัญหา ต้องใช้การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำและ
สภาพต่าง ๆ ในบ่อให้ดีขึ้นและต้องเข้าใจด้วยว่ายาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น 
หัวเหลืองและดวงขาวได้ยาและสารเคมีที่ใช้ควรจะได้รับอนุญาตให้กับสัตว์น้ำหรือกุ้งโดยสำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยาจากต่างประเทศผู้ซื้อกุ้งและหรือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) 
ประเทศไทยหรือ กรมประมงดังนั้นชนิดของยาและสารเคมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ในอนาคตอาจจะต้องมี
การเปลี่ยนแปลงหรือห้ามใช้ตามที่ระบุโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในการควบคุมดูแลด้วย
 

Visitors: 304,158