การทดสอบความกระด้างน้ำ Hardness

ความกระด้างของน้ำ (water Hardness)

1. สาเหตุที่ทำให้เกิดความกระด้างของน้ำ

ความกระด้างของน้ำเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศรวมตัวกับน้ำฝนเกิดเป็น กรดคาร์บอนิก (carbonic acid)  ซึ่งเป็นกรดอ่อน เมื่อไหลซึมผ่านไปสัมผัสกับชั้นหินปูนซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบหลัก จะละลายหินปูน ทำให้น้ำมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมเจือปนมากขึ้น ส่งผลให้น้ำมีความกระด้าง ดังนั้นการวัดความกระด้างของน้ำจึงใช้หน่วยเป็น มิลลิกรัมต่อลิตรของ แคลเซียมคาร์บอเนต (mg/L as CaCO3 )

2. ความกระด้างของน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

• ความกระด้างชั่วคราว ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไบคาร์บอเนต (HCO3- ) ของแคลเซี่ยม (Ca2+ ) และแมกนีเซียม (Mg2+) สามารถกำจัดได้โดยการต้ม ความกระด้างจะเกิดเป็นตะกรันเกาะตามผิวภาชนะ

• ความกระด้างถาวร เป็นสารประกอบซัลเฟต (SO42- ) หรือ คลอไรด์ (Cl) ไม่ตกตะกอนเมื่อได้รับความร้อน การกำจัดความกระด้างประเภทนี้ต้องใช้วิธีทางเคมี

3. เกณฑ์ความกระด้างของน้ำ

เกณฑ์ความกระด้างของน้ำ

ปริมาณความกระด้างของน้ำ (mg/l as CaCO3 )

น้ำอ่อน

0-75

น้ำค่อนข้างกระด้าง

75-150

น้ำกระด้าง

150-300

น้ำกระด้างมาก

มากกว่า 300

 

 

 

 

4. ข้อดี และข้อเสียของความกระด้างของน้ำ

น้ำที่มีความกระด้างอยู่ในปริมาณพอเหมาะ จะมีความกระด้างประมาณ 75-150 mg/L จะทำให้น้ำมารสชาติที่ดี ส่วนน้ำที่มีความกระด้างน้อยหรือที่เรียกว่า น้ำอ่อน จะทำให้เกิดการกัดกร่อนเมื่อนำไปซักล้างจะรู้สึกลื่น และล้างฟองออกยาก น้ำกระด้างมากกว่า 300 mg/L ทำให้เปลืองผงซักฟอกและสบู่ในการวักล้าง และน้ำดื่มที่มีความกระด้างสูงจะมีรสชาติไม่พึงประสงค์

5.ความกระด้างในน้ำกับผลต่อสุขภาพ

ความกระด้างไม่มีผลเชิงลบต่อสุขภาพ การดื่มน้ำที่มีความกระด้างเท่ากับดื่มน้ำที่มีแคลเซียม และแมกนีเซียมปนอยู่ด้วยซึ่งธาตุทั้งสองนี้มีผลต่อสุขภาพ ดังนี้

แคลเซียม

• ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ การขาดแคลเซียมหัวใจจะทำงานไม่ปกติ อาจเกิดโรคหัวใจได้

• เป็นตัวเร่ง(Co-Factor)การทำงานของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกายมนุษย์เช่นการสร้าง DNA เป็นต้น

• ช่วยรักษาสมดุลด่างในร่างกาย

• ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

แมกนีเซียม

• ช่วยในการคลายตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับแคลเซียม

• เป็นตัวเร่ง (Co-Factor) ให้กับเอนไซม์ ซึ่งมีหน้าที่เผาผลาญ อาหาร แป้ง น้ำตาล และไขมัน

• เป็นองค์ประกอบของเลซิติน ( Lecitin) ป้องกันไม่ให้คลอ เลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น

• ป้องกันการเกิดนิ่วเนื่องจากการจับตัวของแคลเซียมออก ซาเลต (Calcium Oxalate) ในไตและในถุงน้ำดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

Visitors: 311,193