เครื่องวัดความชื้นเมล็ดพันธุ์ Kett PM450
เครื่องวัดความชื้นเมล็ดพันธุ์ Kett PM 450 (Dielectric Methods, Capacitance)
PM – 450 ใช้หลักการวัดแบบ (Dielectric Methods, Capacitance)
วิธีการวัดค่าความจุไฟฟ้าของเมล็ดพืช (Dielectric Methods, Capacitance)
ค่าความจุไฟฟ้าของวัสดุขึ้นอยู่กับค่าความชื้นและความสามารถของตัวเก็บประจุ (condensor) หรือค่าความจุไฟฟ้าเป็นผลมาจากคุณสมบัติไดอิเลคตริคของวัสดุที่ใส่อยู่ระหว่างแผ่นคู่ขนานของตัวเก็บประจุ โดยวัสดุที่มีความชื้นก็จะมีค่าคงที่ไดอิเลคตริค (dielectric constant) สูง วัสดุที่แห้งก็จะมีค่าต่ำ น้ำบริสุทธิ์มีค่าคงที่ไดอิเลคตริคเท่ากับ 80 ที่ 20 องศาเซลเซียส ค่าความชื้นในเมล็ดพืชที่ได้จากการวัดค่าความจุไฟฟ้านี้จะมีปัญหาเรื่องความผิดพลาดน้อยกว่าค่าที่ได้จากการวัดโดยใช้ค่าความต้านทาน เนื่องจากการกระจายตัวของความชื้นในเมล็ด ทั้งเมล็ดแห้งและเมล็ดชื้นไม่มีผลต่อการวัดโดยวิธีนี้
ความสำคัญของการวัดความชื้นในการซื้อขายข้าวเปลือก
การวัดความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกมีความสำคัญอย่างมากเพราะปริมาณความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกมีผลต่อน้ำหนัก คุณภาพการสี และการเก็บรักษา ในการรับซื้อข้าวเปลือก โรงสี ท่าข้าว สหกรณ์การเกษตร และตลาดกลางการเกษตร จะพิจารณาตรวจสอบน้ำหนัก ความชื้นสิ่งเจือปน และคุณภาพข้าวอื่นๆ เพื่อกำหนดราคารับซื้อ
ถ้าข้าวเปลือกมีความชื้นเกินขอบเขตที่เหมาะสมสำหรับการสีหรือการเก็บรักษาก็จะหักลดราคาหรือหักลดน้ำหนักข้าวเปลือกที่นำมาขายเพราะผู้ซื้อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดความชื้นข้าวเปลือกที่ซื้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการสีหรือการเก็บรักษา และเสียน้ำหนักข้าวเปลือกที่ซื้อไปในการลดความชื้น
อัตราการหักลดน้ำหนักข้าวเปลือกที่มีความชื้น
การซื้อขายข้าวเปลือกที่มีความชื้น (สิ่งเจือปนไม่เกิน 2%) จะหักลดน้ำหนักข้าวเปลือกในอัตราส่วนต่อ 1,000 กิโลกรัม ดังนี้
ความชื้นไม่เกิน 15% ไม่ให้มีการหักลดน้ำหนัก
ความชื้นเกิน 15% แต่ไม่เกิน 16% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 15กก.
ความชื้นเกิน 16% แต่ไม่เกิน 17% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 30กก.
ความชื้นเกิน 17% แต่ไม่เกิน 18% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 45กก.
ความชื้นเกิน 18% แต่ไม่เกิน 19% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 60กก.
ความชื้นเกิน 19% แต่ไม่เกิน 20% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 75กก.
ความชื้นเกิน 21% แต่ไม่เกิน 22% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 90กก.
ความชื้นเกิน 22% แต่ไม่เกิน 23% ให้หักลดน้ำหนักได้ไม่เกิน 105กก.
ความชื้นเกิน 23%ขึ้นไป ให้หักลดน้ำหนักเปอร์เซ็นต์ความชื้นละไม่เกิน 15กก.
กฎระเบียบกำกับดูแลเครื่องวัดความชื้นข้าว
- เครื่องวัดความชื้นข้าวที่นำมาใช้ในการวัดความชื้นเพื่อกำหนดราคาซื้อขายข้าวระหว่างเกษตรกร และผู้รับซื้อจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและให้คำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 มาตรา 25)
- ผู้ใช้เครื่องวัดความชื้นข้าวที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและให้คำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 มาตรา 70)
- ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ซ่อมจะต้องนำเครื่องวัดความชื้นข้าวมาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและให้คำรับรองภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้ผลิต จะต้องยื่นขอตรวจก่อนออกจำหน่าย ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ผลิตเสร็จ
- ผู้นำเข้า จะต้องยื่นขอตรวจก่อนออกจำหน่าย ภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับมอบจากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร
- ผู้ขาย จะต้องยื่นขอตรวจก่อนออกจำหน่าย ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับมาไว้ในครอบครอง
- ผู้ซ่อม จะต้องยื่นขอตรวจก่อนส่งมอบเครื่องให้เจ้าของหรือก่อนออกจำหน่าย ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ซ่อมเสร็จ(พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 มาตรา 34 และ 36)
- เครื่องวัดความชื้นข้าวที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการประทับเครื่องหมาย คำรับรองไว้บนแผ่นแสดงข้อมูลของเครื่องและออกหนังสือสำคัญแสดงการให้คำรับรองประจำเครื่องไว้ให้เพื่อเป็นหลักฐาน (พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 มาตรา 30 (1) )
- คำรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ให้คำรับรอง (กฎกระทรวงฯ เครื่องวัดความชื้นข้าว พ.ศ. 2547 ข้อ 89)